นโยบายกศน2555

นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕
--------------------------------------------------------------------
วิสัยทัศน์
คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพ
ได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ และการมีอาชีพ
อย่างยั่งยืน
พันธกิจ
๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
และบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง
๒. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของ
ประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างรายได้ สร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน
๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินงาน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษา
อาชีพเพื่อการมีงานทำ
๔. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
๕. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพ
เพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
เป้าประสงค์
๑. คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบของการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
๒. ประชากรวัยแรงงานมีสมรรถนะในการประกอบอาชีพ สามารถประกอบอาชีพ
ที่สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
๓. ชุมชนมีฐานอาชีพที่หลากหลาย ที่สามารถยกระดับไปสู่วิสาหกิจชุมชนอันนำไปสู่
การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับประเทศได้
๔. องค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการ
ดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวาง
๕. หน่วยงานและสถานศึกษานำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง
๖. บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการ
ปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง
๗. หน่วยงานและสถานศึกษามีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตัวชี้วัด
๑. ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
๑.๑ ร้อยละของประชากรกลุ่มต่างๆ (กลุ่มประชากรวัยแรงงานปกติทั่วไป กลุ่ม
ประชากรวัยแรงงานที่เป็นผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางร่างกายและการเรียนรู้
และกลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย และกลุ่มผู้สูงอายุ) ที่ได้รับบริการการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเป็นธรรม
๑.๒ ร้อยละของประชากรวัยแรงงานที่เข้ารับการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มี
สมรรถนะในการประกอบอาชีพที่เพิ่มขึ้น
๑.๓ ร้อยละของชุมชนที่มีฐานอาชีพเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจัดการศึกษาอาชีพ
เพื่อการมีงานทำของสถานศึกษา
๑.๔ ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษาที่มีภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพิ่มมากขึ้น
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑.๕ ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษาที่นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารองค์กร และ
จัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชน
๑.๖ ร้อยละของของผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานและสถานศึกษา
๑.๗ ร้อยละของบุคลากรประเภทและระดับต่างๆ ของหน่วยงานและสถานศึกษา
ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย
๑.๘ ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษาที่มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
๒.๑ ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมาย
ต่างๆ (กลุ่มประชากรวัยแรงงานปกติทั่วไป กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่เป็นผู้ยากไร้
ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางร่างกายและการเรียนรู้ และกล
และกลุ่มผู้สูงอายุ) ที่มีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ
๒.๒ ประชากรวัยแรงงานที่สำเร็จการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่สามารถนำ
ความรู้ไปใช้ในการสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว
๒.๓ ชุมชนที่สามารถสร้างฐานอาชีพใหม่ตามสาขาการศึกษาอาชีพที่จัดบริการ
๒.๔ ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการ
ดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๕ หน่วยงานและสถานศึกษาที่นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารองค์การ และจัดบริการ
การศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชน
๒.๖ ผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานและสถานศึกษา
๒.๗ บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาประเภทและระดับต่างๆ ที่ได้รับการ
พัฒนาสมรรถนะในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๘ หน่วยงานและสถานศึกษาที่มีความพึงพอใจต่อระบบการบริหารจัดการเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑. การเยียวยาและฟื้นฟูหลังวิกฤตอุทกภัย
นโยบายเร่งด่วน
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
เพื่อนำมากำหนดหลักสูตรอาชีพตาม ๕ กลุ่มอาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม
พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และบริหารจัดการและบริการ
๒.๓ เร่งพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่สอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อให้
การจัดการศึกษาอาชีพแนวใหม่ เป็นการจัดการศึกษาที่สามารถสร้างอาชีพหลักที่มั่นคงให้กับ
ผู้เรียน โดยสามารถสร้างรายได้ได้จริงทั้งในระหว่างเรียนและสำเร็จการศึกษาไปแล้ว และ
สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาชีพ เพื่อพัฒนาให้เป็น
ผู้ประกอบการที่มีความสามารถเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืน
๒.๔ จัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพในทุกอำเภออย่างน้อยอำเภอละ ๒ แห่ง เพื่อเป็น
ศูนย์กลางในการฝึก พัฒนา สาธิต และสร้างอาชีพของผู้เรียนและชุมชน รวมทั้งเป็นที่จัดเก็บ
แสดง จำหน่าย และกระจายสินค้าและบริการของชุมชนอย่างเป็นระบบครบวงจร
๒.๕ ประสานการดำเนินงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของหน่วยงานและสถานศึกษา
ต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการฝึกและสร้างอาชีพของประชาชนและชุมชนใน
จังหวัด กลุ่มจังหวัด และระหว่างจังหวัด
๒.๖ จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน
ต่างๆ สำหรับเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาขีดความสามารถในการ
แข่งขันด้านอาชีพอย่างต่อเนื่องให้กับผู้เรียน
๒.๗ จัดให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมี
งานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการ
ดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน
ความต้องการของตลาด และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ทั้ง ๕ ด้าน
๓. เร่งรัดจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อยกระดับการศึกษาให้กับประชาชน
๓.๑ เร่งพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้น
ให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนา
คุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่าง
มั่นคง
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๓.๒ เร่งพัฒนาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มี
เนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ทันสมัย ครอบคลุมตามโครงสร้างหลักสูตร นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ได้มาตรฐานทั้งความรู้สากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดทำ ในรูปแบบสื่อเอกสาร
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณภาพ และเผยแพร่ให้สถานศึกษาในสังกัดอย่างทั่วถึง
๓.๓ ส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดให้ กศน.อำเภอทุกแห่งดำเนินการเทียบโอน
ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียนอย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับ
หลักสูตร เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง
๓.๔ พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม
ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔. เร่งรัดการจัดระบบความรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาการอ่านของ
ผู้เรียนและประชาชน
๔.๑ รณรงค์ส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน และสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของ
การอ่านเพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๔.๒ เร่งพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนและประชาชนให้มีทักษะในการ
อ่าน และคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๓ พัฒนาหนังสือและสื่อส่งเสริมการอ่านอื่นๆ ที่มีเนื้อหาสาระองค์ความรู้จาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ และหนังสือดีมีคุณภาพ ที่มีสาระที่หลากหลาย ทันสมัย และ
สอดคล้องกับความต้องการเพื่อการพัฒนาความรู้สำหรับประชาชนในชุมชนแต่ละท้องถิ่น
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
๑.๑ จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นโยบายต่อเนื􀃉อง
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๕) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
ในระดับประเทศและระดับสากล
๑.๓ การศึกษาต่อเนื่อง
๑) มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ
การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ใน ๕ กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย อาชีพเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง
ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ทั้งในหลักสูตรต้นน้ำ กลางน้ำ
และปลายน้ำ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
นำความรู้ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์
ในการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง และการพัฒนาสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
๒) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัด
กิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของ
ตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
๓) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคิดการจัดการศึกษา
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักสูตรและการจัด
กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวที
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
และบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็น
พลเมืองดี และการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน การบริหารกองทุน การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ และการรองรับการเปิดเสรีประชาคม
อาเซียน และหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง
๔) พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อ
การใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อเนื่องของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
๑.๔ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
๑) เร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและ
มาตรฐานของหลักสูตร
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๒) พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
โดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และ
การวัดและประเมินผล
๓) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมายและท้องถิ่น
๔) ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ ประกอบ
หลักสูตรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยการมี
ส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและเอกชน
๕) ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการศึกษา
ตลอดชีวิตที่หลากหลายสอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
๖) มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับ
สภาพ และความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และมี
ผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
๗) พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร
โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำข้อทดสอบกลาง
มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๕ การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑) เร่งรัดให้สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐาน
โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของ
สถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง
๒) เร่งรัดให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. ดำเนินการประเมินคุณภาพภายใน
ของสถานศึกษาโดยต้นสังกัดให้ผ่านการประเมินคุณภาพภายใน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๓) เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน.ที่มีผลการประเมิน
ภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ.กำหนดโดยปรับแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้
คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพ
ภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
๔) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน
สมศ. ผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๐
๑.๖ การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
๑) จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้
ที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งอัตลักษณ์และความเป็น
พหุวัฒนธรรมของพื้นที่
๒) พัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเข้มข้น
และต่อเนื่องเพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นของประเทศ
๓) ส่งเสริมระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับ
การศึกษา ด้านศาสนศึกษาเข้าสู่การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย
แก่บุคลากรและนักศึกษา กศน.ตลอดจนผู้มาใช้บริการอย่างทั่วถึง
๑.๗ การศึกษาทางไกล
๑) พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียน
การสอน ระบบการวัดและประเมินผลการเรียน ทั้งหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบที่
หลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพ
๒) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมในการจัดและให้บริการ
การศึกษาทางไกลเพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
๓) ขยายกลุ่มเป้าหมายภาคีเครือข่ายผู้ให้บริการ และผู้รับบริการทั้งในประเทศ
และต่างประเทศให้มากขึ้น
๒. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑ การส่งเสริมการอ่าน
๑) พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้
ระดับอ่านคล่อง อ่านเข้าใจความ เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยใช้เทคนิควิธี
การเรียนการสอน และสื่อที่มีคุณภาพ
๒) พัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้าง
เจตคติให้เห็นประโยชน์และความสำคัญของการอ่าน ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน
ต่างๆ มีส่วนร่วม และกำหนดมาตรการจูงใจเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน
๓) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน
ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๑
และหลากหลาย รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ที่สนับสนุนการอ่าน และการจัด
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมรักการอ่านในส่วนภูมิภาค
๔) ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มี
อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล
๕) ส่งเสริมให้มี “นครแห่งการอ่าน” ในจังหวัดที่มีความพร้อมเพื่อสร้างเสริม
บทบาทของการส่งเสริมการอ่าน
๒.๒ ห้องสมุดประชาชน
๑) มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ของชุมชน เป็นแหล่งค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำและสร้าง
รายได้อย่างยั่งยืนและการสร้างความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๒) จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในอำเภอที่ยังไม่มีห้องสมุดประชาชน เพื่อจัดบริการ
ให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยเน้นการระดมทรัพยากรและความร่วมมือ
จากภาคีเครือข่าย
๓) จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ
เชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน
๔) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและ
ภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเอง การ
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ของประชาชน
เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการปฏิบัติ
๕) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสการ
เรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนและชุมชน
๖) พัฒนาศักยภาพ บุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชน
ให้มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงาน
๗) แสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการ
ดำเนินงานห้องสมุดประชาชน
๒.๓ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
๑) พัฒนาและจัดทำนิทรรศการ มหกรรมวิทยาศาสตร์สัญจร และจัดกิจกรรม
ที่เน้นการเสริมสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
วิเคราะห์ ปลูกจิตสำนึกทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กระตุ้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๒
และสร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
ไปใช้ในการพัฒนาชีวิต พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
๒) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนโดยเน้น
วิทยาศาสตร์ชุมชนให้ผู้รับบริการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพ สิ่งแวดล้อม
การป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติและการดำรงชีวิตประจำวัน ของประชาชนในพื้นที่
๓) ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งใน
และต่างประเทศเพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
๔) ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรม
ด้านวิทยาศาสตร์ให้มีรูปแบบและเนื้อหา ที่หลากหลาย สามารถปลูกฝังให้ผู้รับบริการมีความรู้
ความเข้ามีวิธีคิดเชิงเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
๕) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ
เพื่อเป็นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
๖) พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงวิชาการ
แหล่งจุดประกายการพัฒนาอาชีพ และแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น
๓. นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน
๓.๑ พัฒนา กศน.ตำบล/แขวง ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจาย
โอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน
๑) จัดหาครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมกับ กศน.ตำบล/แขวง ให้ครบทุกแห่ง
เพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองความ
ต้องการของประชาชนและชุมชนได้ทันเวลา
๒) จัดหาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์
สื่อเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพในรูปแบบและสาระที่หลากหลาย ทันสมัย ประชาชนสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาชุมชน และการสร้าง
ความบันเทิง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความสุขในชีวิตให้กับประชาชนในชุมชน
๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัย
สร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยจัดให้มี
การจัดการศึกษาผ่านทีวีสาธารณะ การฝึกอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ การป้องกันภัยพิบัติ การศึกษาการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๓
การเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
และความจำเป็นเร่งด่วนต่างๆ ของแต่ละชุมชน
๔) เร่งรัดให้ กศน.ตำบล/แขวง จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริมให้มี
กลุ่มส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนรักการอ่าน โดยใช้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
เป็นกลไกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่างๆ ในชุมชน โดยดำเนินงาน
เป็นทีมร่วมกับครู กศน.ตำบล/แขวง
๕) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสภาพการรู้หนังสือและความต้องการทางการศึกษา
และการเรียนรู้ของประชากรวัยแรงงานและผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ครบถ้วน
ถูกต้อง ทันสมัยและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้ทันความต้องการ เพื่อประโยชน์
ในการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
๖) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน.ตำบล/แขวง เพื่อการประสานเชื่อมโยง
ส่งต่อผู้เรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ
ในการให้บริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
๗) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผล กศน.ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง
ให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวง และจัดให้มีการรายงานต่อ
สาธารณะ รวมทั้งนำผลมาพัฒนาการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง
๘) กำกับและติดตามให้ กศน.ตำบล/แขวง ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน
การดำเนิน กศน.ตำบล/แขวง
๓.๒ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคี
เครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษา
อาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับ
๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ โดยจำแนกตามระดับความ
พร้อมในการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และ
สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนได้อย่าง
เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ และระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
๒) พัฒนาบุคลากรภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
และการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๔
๓) ให้หน่วยงานและสถานศึกษา ประสานการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และภารกิจเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยในการเป็นกลไกสำคัญเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๓.๓ อาสาสมัคร กศน.
๑) ส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการ
บำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่
ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยทำงานเป็นทีมร่วมกับ
ครูในสังกัด สำนักงาน กศน.
๒) ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้จัด และ
ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ
๓) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่างๆ แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้
ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริม
การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
๓.๔ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน
๑) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง
ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๒) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยการจัดทำแผนชุมชน
จัดเวทีชาวบ้าน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน
๓) ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆ
ของ กศน. โดยคำนึงถึงการประกอบอาชีพ และการมีงานทำของผู้เรียนที่แท้จริง เพื่อประโยชน์
ในการมีงานทำและการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
๔) ส่งเสริมให้มีการขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการสืบสานและ
การถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยให้มีการจัดทำและเผยแพร่สื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน
๕) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญองค์ความรู้
ด้านต่างๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ และนักจัดการความรู้ที่สำคัญของชุมชน
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๕
๔. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ
๔.๑ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๑) ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อ
สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากพระราชวงศ์
อย่างมีคุณภาพและเกิดผลโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งระดับบุคคลและชุมชน
๒) จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน.ที่สนองงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผน การติดตามประเมินผลและการ
พัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๒ โครงการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของ ศฝช.
๑) ให้ ศฝช.ทุกแห่ง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากร และการเผยแพร่
ความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน กศน.กับ มูลนิธิ MOA ไทย
และ MOA International
๒) มุ่งจัดและพัฒนาการศึกษาอาชีพ โดยเน้นเรื่องเกษตรธรรมชาติที่สอดคล้อง
กับบริบทของชุมชนชายแดน ให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน
๓) จัดและพัฒนา ศฝช.ให้เป็นศูนย์สาธิตการประกอบอาชีพ ศูนย์การเรียนรู้
ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประชาชน
ตามแนวชายแดน
๔) จัดระบบเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้อาชีพ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง โดยเชื่อมโยงกับ กศน.ตำบล/แขวง ในพื้นที่
๔.๓ การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
๑) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้สัญชาติ เด็กและเยาวชน
ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เด็กด้อยโอกาส คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย
คนไทยในต่างประเทศ
๒) จัดและส่งเสริมการเรียนรู้และใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันสำหรับ
กลุ่มชาติพันธุ์
๓) พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ให้มีความพร้อม
ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๖
๔) พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพและความ
ต้องการของกลุ่มเป้าหมายพิเศษแต่ละกลุ่ม
๕) ศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
พิเศษ
๖) พัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในการปฏิบัติงานของครูที่รับผิดชอบ
กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
๕. นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
๕.๑ พัฒนาสถานีวิทยุศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการออกอากาศ
ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
โดยขยายการรับฟังให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
๕.๒ พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
และการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยรวมสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และ
สถานี Teacher TV เพื่อเพิ่มช่องทางให้สามารถรับชม ได้ทั้งระบบ C – Band และ Ku –
Band พร้อมที่จะรองรับการพัฒนาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free ETV)
๕.๓ พัฒนารายการวิทยุเพื่อการศึกษา ให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการจัด
กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพ
การเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศ
๕.๔ พัฒนารายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการ
จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพ
การเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศ
๕.๕ เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
มีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพโดยจัดให้มีการผลิตรายการพัฒนาอาชีพ
เพื่อการมีงานทำทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
(ETV) และสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ
๕.๖ ผลิตและเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไป
และกลุ่มเป้าหมายเพื่อคนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการศึกษา
ทางไกล การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาทางเลือก
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๗
๕.๗ พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายให้สามารถผลิต เผยแพร่
และใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๘ พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทาง
ทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่น ๆ เช่น DVD, CD, VCD และ MP3 เป็นต้น เพื่อให้
กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้บริการเพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ได้ตามความ
ต้องการ
๕.๙ สำรวจ วิจัย และติดตามประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อย่าง
ต่อเนื่อง
๖. นโยบายด้านการบริหารจัดการ
๖.๑ การพัฒนาบุคลากร
๑) พัฒนาบุคลากรทุกประเภททุกระดับให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งก่อนและระหว่างการดำรงตำแหน่งเพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน และบริหารจัดการการ
ดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ
๒) พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีในการ
ปฏิบัติงาน มีความสามารถในการดำเนินงานให้ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเป็นศูนย์กลางในการฝึก
และสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับประชาชนและชุมชนและพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีอาเซียนและเวที
สากล
๓) พัฒนาหัวหน้า กศน.ตำบล/แขวงให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในการบริหารจัดการ
กศน.ตำบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็น
นักจัดการความรู้และผู้อำนวยความสะดวกการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
๔) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กศน.ตำบล/แขวง เพื่อการมีส่วนร่วม
ในการบริหารการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน.ตำบล/แขวง อย่างมีประสิทธิภาพ
๕) พัฒนาอาสาสมัคร กศน.ตำบล/แขวง ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมและ
สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล/แขวง ที่มี
คุณภาพ
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๘
๖) เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายในทุกระดับ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร และ
ภาคีเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น มหกรรมกีฬา กศน. การแลกเปลี่ยน
เรียนรู้การดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ
๗) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะ
ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
๘) ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อน
วิทยฐานะโดยเน้นการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์
๖.๒ การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล
๑) สร้างกลไกการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงาน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เชื่อมโยงกับหน่วยงาน สถานศึกษา และภาคี
เครือข่ายทั้งระบบ
๒) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออื่นๆ
ที่เหมาะสม เพื่อการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๓ โครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง
๑) จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่และ
วัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา
๒) ระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
ให้มีความพร้อมสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน
๓) แสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔) เร่งผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต
๕) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ
และลูกจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
๖.๔ การพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล
๑) วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการใช้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็น
กลไกสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า
๑๙๒)ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้ง

 
 ที่่มา
 http://www.nfe.go.th/joomla2/index.php?option=com_content&view=article&id=11347&Itemid=184
การศึกษาวิจัยเพื่อสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ
ความต้องการของประชาชนและชุมชนพร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของ
หน่วยงานและสถานศึกษาทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล
๓) พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกัน
ทั่วประเทศอย่างเป็นระบบเพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็น
เครื่องมือสำคัญในการบริหาร และจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อย่างมีประสิทธิภาพ
๔) สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ของ กศน.
ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เพื่อสร้างกระแสให้
ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
ของ กศน.ทั้งในฐานะผู้รับบริการ ผู้จัด ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ กศน.
๑) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับ
การสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่าง
ทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
๒) จัดหาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ
ตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งจัดให้มี
ระบบหมุนเวียนตำราเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำรา
เรียนอย่างเท่าเทียมกัน
๓) ขยายการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ
ให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะ
ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ
๔) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน.ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง
ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการ
เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๕) จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความ
เข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้
ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๒ การส่งเสริมการรู้หนังสือ
๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มี
ความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน
๒) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผล และเครื่องมือการดำเนินงาน
การส่งเสริมการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
๓) พัฒนาครู กศน.และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถและ
ทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
๔) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคง
สภาพการรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์
พื้นฐานเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน
๑.๑ ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เพื่อการป้องกันภัยพิบัติและการจัดการแก้ปัญหาใน
กรณีที่ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนวิธีการดำรงชีวิตเมื่อประสบภัยพิบัติ สำหรับประชาชนอย่าง
ทั่วถึง
๑.๒ จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและเสริมสร้างสมรรถนะในการ
ประกอบอาชีพ ให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ทั้งในการพัฒนาอาชีพเดิม การ
สร้างอาชีพเสริมและอาชีพใหม่ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานเพื่อส่งเข้าสู่ระบบ
การผลิตอุตสาหกรรมตามเดิม
๑.๓ สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานและ
สถานศึกษาในสังกัดเพื่อขอรับการสนับสนุนในการซ่อมแซมและฟื้นฟูให้มีความพร้อมสำหรับ
ให้บริการประชาชนต่อไป
๑.๔ ให้มีการเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่ที่อาจประสบภัยในลักษณะอื่นใด
นอกเหนือจากอุทกภัยด้วย อาทิ แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ วาตภัย ดินถล่ม อัคคีภัย ภัยจากอากาศ
หนาว ภัยแล้ง โดยจัดให้มีการจัดทำแผนสำรองภาวะฉุกเฉินและมีการซ้อมการดำเนินงานตาม
แผนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยต่างๆ ดังกล่าว
๑.๕ เร่งจัดบริการเพื่อเยียวยาและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนในพื้นที่ที่
ประสบอุทกภัยโดยจัดหาอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องดำรงชีพขั้นพื้นฐาน และที่พักอาศัยชั่วคราว
ให้กับผู้ประสบอุทกภัย
๒. การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
๒.๑ เร่งเสนอจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัดในทุกจังหวัด โดยมี
ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ เพื่อเป็นกลไก
ในการกำหนดทิศทาง อำนวยการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริมสนับสนุนและบูรณาการ
การดำเนินงานการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของจังหวัด
๒.๒ เร่งสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการด้านการศึกษา
อาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน ความต้องการด้านแรงงาน สินค้า และบริการ รวมทั้ง
ศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิประเทศและทำเลที่ตั้ง ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต และทรัพยากรมนุษย์

 

ไม่มีความคิดเห็น: